พระครูสังฆรักษ์ชัยวัตร อาภาธโร

ล่าสุด

ประวัติความเป็นมาของวัด

ประวัติวัดเทพบุตรจากคำบอกเล่า

ในปีที่เริ่มสร้างวัดนั้น เริ่มเมื่อประมาณปี ๒๔๙๔ *(จากคำบอกเล่าของโยม พิชัย ร่มเย็น เมื่อวันที่ ๘ โยม สัมพันธ์ ศิริมาก และ โยม บำเพ็ญ เจริญคลัง เมื่อวันที่ ๙ ม.ค. ๒๕๕๓)* เดิมวัดนี้ชาวบ้านจะนิยมเรียกว่าวัดบนบ้าง วัดป่าประดู่บ้าง ในสมัยนั้นที่บริเวณวัดเป็นป่าหญ้าคา บริเวณโดยรอบเป็นทุ่งข้าว เดิมทีที่ตรงบริเวณนั้นเป็นของ นางเจียม

นางเจียมมีบุตร-ธิดารวม ๓ คน คือ

๑. นายเยื่อ   วัดห้อย

๒. นายคำ   วัดห้อย

๓. นางลำใย วัดห้อย (สกุลเดิม)

จากนั้นนางเจียมได้ย้ายบ้านไปปลูกบริเวณอื่นที่ไม่ไกลจากบริเวณนั้นมากนัก และที่ตรงบริเวณดังกล่าวก็ได้ยกให้กับบุตร-ธิดา ทั้ง๓ คน ในเวลาต่อมา*(จากคำบอกเล่าของโยม ย้อย เจริญคลัง เมื่อวันที่ ๒ ม.ค.๒๕๕๓)*

ต่อมา นายเยื่อได้อุทิศที่ดินของตนให้แก่สาธารณะกุศลเพื่อการสร้างวัด ในเวลาต่อมาก็มี นายสนิท ศิริมาก ได้อุทิศที่ของตนทางด้านทิศเหนือให้อีก ทางด้านทางทิศตะวันตกมีที่ดินบางส่วนของ นายสงัด โหนแหย็ม ที่แหลมเข้ามา ได้ยกที่ดินส่วนที่แหลมนั้นให้กับทางวัดในเวลาต่อมา และมีที่ของนายแฟ้ม บางส่วนทางทิศตะวันออก การให้ที่ดินในสมัยนั้นไม่สามารถทราบได้แน่นชัดว่าใครให้เท่าไหร่ เพราะไม่ได้มีการวัดที่ดินให้กัน เพียงแต่แค่รู้เขตว่าตรงนี้เป็นที่ดินของใคร ใช้วิธีการชี้ที่เอา แล้วเขาก็ยกให้ แบ่งให้ *(จากคำบอกเล่าของโยม ย้อย เจริญคลัง   โยม แจะ บุญแผน เมื่อวันที่ ๒ แม่ชี สัมฤทธิ์ เจริญคลัง เมื่อวันที่ ๔ และ โยม บำเพ็ญ เจริญคลัง เมื่อวันที่ ๙ ม.ค.๒๕๕๓)*

     โดยมีผู้ริเริ่มบุกเบิกในสมัยนั้นหลายคนด้วยกัน อาทิ เช่น

๑. ผู้ใหญ่พัว   อ่อนคลาย (ผู้ใหญ่บ้านในสมัยนั้น)

๒. นายเชิง     เกตแจ้

๓. นายหลิว    สุดพุ่ม

๔. นายเผื้ยะ       เจริญคลัง

๕.นายเดช      คล้ายนิล  และ

ชาวบ้านบึง หมู่ ๖

*(จากคำบอกเล่าของโยม ย้อย เจริญคลัง โยม แจะ บุญแผน โยม บุญศรี พวงลำเจียก เมื่อวันที่ ๒ แม่ชี สัมฤทธิ์ เจริญคลัง และ โยม สง่า ออนคลาย เมื่อวันที่ ๔ ม.ค. ๒๕๕๓ )*

     ในการสร้างวัดในสมัยนั้น จะใช้แรงงานชาวบ้านทั้งหมดโดยไม่มีการจ้าง เหมือนในสมัยปัจจุบัน โดยจะมีการเคาะระฆังบ้าง ตีกลอง *(จากคำบอกเล่าของ แม่ชี สัมฤทธิ์ เจริญคลัง โยม ภคิน ห้วยใหญ่ เมื่อวันที่ ๑ โยม แจะ บุญแผน และโยม บุญศรี พวง ลำเจียก เมื่อวันที่ ๒ ม.ค. ๒๕๕๓)*ผู้ชายก็จะพากันไปถางป่าบ้าง ตัดไม้กันบ้าง ทำศาลากันบ้าง เรียกได้ว่างานไหนที่ต้องออกแรงกันมากๆก็จะเป็นหน้าที่ของพวกผู้ชาย ส่วนผู้หญิงก็จะเป็นผู้ทำอาหารมาเลี้ยง โดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป บ้านไหนพอมีอันจะกินหน่อยก็ทำกันไปมากหน่อย บ่อยหน่อย บ้านไหนมีวัว ก็จะเอาวัวเทียมเกวียนไปช่วยกันขนไม้มาทำศาลา หรือบ้านไหนมีต้นไม้ใหญ่ๆ ก็จะไปตัดเอามาทำศาลากัน*(จากคำบอกเล่าของ แม่ชี สัมฤทธิ์ เจริญคลัง เมื่อวันที่ ๑ ม.ค. ๒๕๕๓)*

     เมื่อ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๙๕ ได้มีการจัดตั้งเป็นวัดขึ้นอย่างถูกต้องตามระเบียบของกรมการศาสนา จากนั้นอีก ๔ ปีจึงได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาคือเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๔๙๙ (จากหลักฐานของกรมการศาสนา) *(จากคำบอกเล่าของ โยม สัมพันธ์ ศิริมาก เมื่อวันที่ ๙ ม.ค. ๒๕๕๓)*

     สมภารวัดอันเป็นชื่อที่นิยมเรียกกันในสมัยนั้น รูปแรก คือ หลวงตาอาบ ซึ่งเป็นพระมาจากวัดล่าง หรือวัดห้วยใหญ่ในปัจจุบัน*(จากคำบอกเล่าของโยม สง่า ออนคลาย เมื่อวันที่ ๔ และ โยม พิชัย ร่มเย็น เมื่อวันที่ ๘ ม.ค. ๒๕๕๓)*

     ในสมัยที่หลวงตาอาบเป็นสมภารนั้น หลวงพ่อก้าน ได้ถวายศาลาไม้ยกพื้น๒ชั้นให้หนึ่งหลัง ถวายไม้ให้สร้างกุฏิอีกหนึ่งหลัง พร้อมกับพระพุทธรูปปางขัดสมาธิหนึ่งองค์*(จากคำบอกเล่าของ แม่ชี สัมฤทธิ์ เจริญคลัง โยม ภคิน ห้วยใหญ่ โยม เสน่ห์ เจริญคลัง เมื่อวันที่ ๑ โยม แจะ โยม กฤษณา บุญแผน โยม บุญศรี พวงลำเจียก เมื่อวันที ๒ โยม สง่า อ่อนคลาย เมื่อวันที่ ๔ และ โยม พิชัย ร่มเย็น เมื่อวันที่ ๘ ม.ค. ๒๕๕๓  )*

พระพุทธรูปองค์ที่หลวงพ่อก้านถวายให้มานั้น เคยมีผู้สันนิษฐานว่า เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่สมัยสุโขทัยตอนปลาย หรือในสมัยอยุธยาตอนต้น และเป็นพระองค์แรกของวัดอีกด้วย*(จากคำบอกเล่าของ โยม แจะ โยม กฤษณา บุญแผน เมื่อวันที่ ๒ และ โยม สง่า อ่อนคลาย เมื่อวันที่ ๔ ม.ค. ๒๕๕๓ )*

     หลังจากที่หลวงตาอาบเป็นเจ้าอาวาสแล้ว ก็มีพระอีกหลายรูปมาอยู่ที่วัดได้เป็นสมภารเจ้าอาวาสวัด บางรูปก็มาเป็นรักษาการแทนเจ้าอาวาส แต่ไม่ค่อยมีบทบาทสำคัญอะไรมากนัก จึงไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด เพราะมาอยู่ไม่นานแล้วก็ไป เช่น หลวงตาเขียน หลวงปู่ขึม หลวงตาเยื่อ หลวงตาอั้น เป็นต้น*(จากคำบอกเล่าของ โยม ย้อย เจริญคลัง เมื่อวันที่ ๒  โยม พิชัย ร่มเย็น เมื่อวันที่ ๘ และ โยม บำเพ็ญ เจริญคลัง เมื่อวันที่ ๙ ม.ค. ๒๕๕๓)*

เมื่อหลวงตาอั้นไปจากวัดแล้ว ชาวบ้านก็ได้นิมนต์หลวงปู่ทองให้มาอยู่ที่วัด เพราะขณะนั้นที่วัดไม่มีพระอยู่เลย โดยนิมนต์มาจากบ้านเนินกระปลอก

หลวงปู่ทองมีพี่น้องร่วมบิดา-มารดา เดียวกัน ๓ คน คือ

๑.     นางไกล (ภรรยาของหลวงปู่ขึม)

๒.   หลวงปู่ทอง

๓.    นายคำ

เมื่อมาอยู่ที่วัด นายหลวน วอนเมือง ได้สร้างกุฏิกระต๊อบมุงด้วยจากถวายให้กับหลวงปู่หนึ่งหลัง อยู่บริเวณหลังวัด*(จากคำบอกเล่าของ โยม ย้อย เจริญคลัง เมื่อวันที่ ๒ และ โยม พิชัย ร่มเย็น เมื่อวันที่ ๘ ม.ค. ๒๕๕๓ )*ภายหลัง นายช้ง ทางตำบลหนองปรือ*(จากคำบอกเล่าของ โยม ย้อย เจริญคลัง เมื่อวันที่ ๒ ม.ค. ๒๕๕๓)*นายเข็ม ร่มเย็น พร้อมด้วยชาวบ้านร่วมกันสร้างกุฏิปูนหลังปัจจุบันถวายให้กับหลวงปู่ทอง*(จากคำบอกเล่าของ โยม พิชัย ร่มเย็น เมื่อวันที่ ๘ ม.ค. ๒๕๕๓)*

แต่ในการนั้นหลวงปู่ทองไม่ได้รับเป็นสมภารเจ้าอาวาสวัด โดยให้เหตุผลว่า ท่านไม่ถนัดในเรื่องการก่อสร้างรวมถึงในด้านการบริหารด้วย แต่ท่านถนัดในด้านปฏิบัติวิปัสสนามากกว่า จึงได้ออกธุดงค์ไปทางภาคใต้ จนถึงจังหวัดชุมพร และได้พบกับพระรูปหนึ่ง คือ หลวงพ่อจี๊ด ขณะนั้นหลวงพ่อจี๊ดมีอายุกาลพรรษาได้ ๔ พรรษ หลวงปู่ทองจึงได้นิมนต์ให้มาอยู่ที่วัด เพราะตอนนั้นที่วัดไม่มีพระอยู่เลย*(จากคำบอกเล่าของ โยม แจะ บุญแผน เมื่อวันที่ ๒ ม.ค. ๒๕๕๓)*

     ลูกสาวของหลวงพ่อหลวงพ่อจี๊ดเคยเล่าให้ฟังว่า หลวงพ่อออกจากบ้านไปบวชเมื่อปี ๒๕๐๗ ซึ่งตรงตามหลักฐานที่ได้มีบันทึกไว้ และก่อนที่หลวงพ่อจะมาอยู่ที่วัดนี้ ก็มีพรรษาได้ ๔ พรรษาแล้ว และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น จากหลักฐานที่ได้บันทึกไว้ หลวงพ่อสามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรีได้ที่สำนักเรียนอื่นไม่ใช่ที่วัดนี้ ดังนั้นพึงสันนิษฐานได้ว่า หลวงพ่อน่าจะมาอยู่ที่วัดนี้ตั้งแต่ปี ๒๕๑๑*(จากคำบอกเล่าของ โยม สัมพันธ์ ศิริมาก เมื่อวันที่ ๙ ม.ค. ๒๕๕๓)*

     แรกเริ่มเดิมทีที่หลวงพ่อจี๊ดมาอยู่ยังไม่ได้เป็นเจ้าอาวาส เมื่อมาอยู่ก็เริ่มทำการก่อสร้าง โดยสร้างกุฏิก่อนเป็นอันดับแรก กุฏิที่หลวงพ่อสร้างเป็นกุฏิแรกเป็นกุฏิไม้ ๒ ชั้น ต่อมาภายหลังคือกุฏิเจ้าอาวาสหลังเก่า เวลานั้นอยู่ราวปี ๒๕๑๓ *(จากคำบอกเล่าของโยม บุญศรี พวงลำเจียก เมื่อวันที่ ๒ และ โยม สัมพันธ์ ศิริมาก เมื่อวันที่ ๙ ม.ค.๒๕๕๓)* เมื่อหลวงพ่อจี๊ดเป็นเจ้าอาวาสแล้ว ก็ได้ริเริ่มสร้างเมรุ โดยมีผู้ร่วมอุดมการณ์คนสำคัญคือ นายเดช คล้ายนิล พร้อมด้วยชาวบ้าน เมื่อสร้างไปได้สักระยะหนึ่งเกิดเงินหมดไม่พอในการก่อสร้าง การก่อสร้างจึงได้หยุดชะงักไประยะหนึ่ง หลังจากนั้นไม่นาน นายเดชได้มีกำไรจากการทำไร่แต่งโม จึงนำเงินที่ได้ทั้งหมดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น ๘๐,๐๐๐ บาทมาสร้างเมรุต่อ จึงแล้วเสร็จ*(จากคำบอกเล่าของ โยม บุญศรี พวงลำเจียก เมื่อวันที่ ๒ ม.ค. ๒๕๕๓) *ชาวบ้านจึงนิยมเรียกกันว่าเมรุนายเดช*(จากคำบอกเล่าของ โยม อิศรางค์ พวงลำเจียก เมื่อวันที่ ๔ ม.ค. ๒๕๕๓)*

เมื่อสร้างเมรุเสร็จแล้ว หลวงพ่อจี๊ดก็ดำริและริเริ่มสร้างโบสถ์ต่อไป

หลวงพ่อได้ริเริ่มวางฐานโบสถ์เมื่อประมาณปี ๒๕๑๓ โดยตอนนั้นทางวัดมีเงินเพียง ๓,๐๐๐ บาทเท่านั้น หลวงพ่อจี๊ดจึงไปขอยืมมาจากหลวงพ่อก้านอีก ๓,๐๐๐ บาทเพื่อนำมาวางฐานโบสถ์*(คำบอกเล่าของ โยม บุญศรี พวงลำเจียก เมื่อวันที่ ๒ ม.ค. ๒๕๕๓)*โบสถ์สามารถขึ้นโครงสร้างเป็นรูปเป็นร่างได้ เมื่อปี ๒๕๑๖*(จากคำบอกเล่าของ โยมภคิน ห้วยใหญ่ เมื่อวันที่ ๑ และ โยม สัมพันธ์ ศิริมาก เมื่อวันที่ ๙ ม.ค.๒๕๕๓)*

สมัยนั้นหลวงพ่อไม่มีเงินจ้างช่าง หลวงพ่อจึงใช้วิธีเคาะระฆังบ้าง ตีกลองบ้าง เพื่อเป็นสัญญาณให้ชาวบ้านรู้ว่าที่วัดมีงานขอแรงให้ชาวบ้านช่วย ชาวบ้านก็จะพากันมาทำงานในวัดกัน เวลาที่มาทำกันนั้นก็จะเป็นเวลาเย็น ที่ว่างเว้นจากการงานในไร่ในสวนกันแล้ว

การสร้างโบสถ์ก็เหมือนกัน ชาวบ้านจะไปช่วยกันขนหินก้อนใหญ่ๆ จากเขาตาขะ เป็นเขาที่ชาวบ้านเรียกกันในสมัยนั้น มาใส่ในหลุมเพื่อทำเป็นฐานโบสถ์ เพราะโบสถ์หลังนี้ฐานไม่ได้ตอกเสาเข็ม แต่ใช้หินจำนวนมากเป็นฐานแทนการตอกเสาเข็ม เพื่อลดต้นทุนในการก่อสร้าง*(จากคำบอกเล่าของ แม่ชี สัมฤทธิ์ เจริญคลัง เมื่อวันที่ ๑ โยม บุญศรี พวงลำเจียก และ โยม แจะ บุญแผน เมื่อวันที่ ๒ ม.ค. ๒๕๕๓)*ขณะทำการก่อสร้างหลวงพ่อได้ให้นายแก้วซึ่งเป็นช่างประจำวัดในขณะนั้น เป็นตัวแทนในการประมูลงานก่อสร้างต่างๆ อาทิเช่น งานสร้างศาลาตามวัดต่างๆบ้าง งานสร้างเมรุบ้าง สร้างสะพานบ้าง เพื่อนำเงินกำไรจากการก่อสร้างในแต่ละครั้งมาสร้างโบสถ์ในงานการประมูลในแต่ละครั้ง หลวงพ่อได้รับการช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษจาก นายสมควร ซึ่งเป็นปลัดอาวุโสของอำเภอบางละมุงในขณะนั้น และได้รับเงินบางส่วนจากการที่ชาวบ้านร่วมกันบริจาคบ้าง หลวงพ่อจะใช้วิธีเชื่อของมาทำก่อนแล้วค่อยเอาเงินที่ได้จากที่ต่างๆไปจ่ายในภายหลัง บางครั้งก็จะขอยืมมันสำปะหลังของชาวบ้านขุดไปขายก่อน พอได้เงินจากกฐิน ผ้าป่าบ้างก็นำไปคืนชาวบ้าน

เมื่อสร้างโบสถ์ไปได้สักระยะหนึ่ง ประมาณปีพ.ศ.๒๕๑๕ หลวงพ่อก็ดำริและริเริ่มที่จะสร้างหอฉันและหอระฆังต่อ โดยนำปูนที่เหลือจากการทำโบสถ์ ๓ ลูกบ้าง ๕ ลูกบ้าง เหล็กที่ไม่สามารถทำโบสถ์ต่อได้อีกแล้วเพราะของไม่พอ ก็เอามาทำฐานไว้ก่อนบ้าง ขึ้นเสาไว้ก่อนบ้าง คือว่าค่อยทำไปแต่น้อยเพื่อไม่ให้เสียของและเสียเวลา ทำเช่นนี้อยู่ตลอดประมาณ ๕-๖ ปี หอฉันและหอระฆังก็แล้วเสร็จ*(จากคำบอกเล่าของ โยม บุญศรี พวงลำเจียก เมื่อวันที่ ๒ ม.ค. ๒๕๕๓)*

     เมื่อดำเนินการสร้างไปแล้วประมาณ ๘ ปี โบสถ์ก็ได้ทำแล้วเสร็จประมาณ ๗๐% ขณะนั้นเงินหมดพอดี จึงได้มีการจัดงานปิดทอง-ฝังลูกนิมิตขึ้น ในปี ๒๕๒๑ เพื่อนำเงินมาสร้างโบสถ์ต่อให้เสร็จ หลังจากที่ได้มีการปิดทอง-ฝังลูกนิมิตเมื่อปี ๒๕๒๑ แล้ว ก็ได้นำเงินมาสร้างโบสถ์ต่ออีก จากนั้นอีก ๓ ปี คือปี ๒๕๒๔ โบสถ์จึงเสร็จอย่างสมบูรณ์*(จากคำบอกเล่าของ โยม ธงชัย โยมบุญศรี โยม อิศรางค์ พวงลำเจียก เมื่อวันที่ ๒ ม.ค. ๒๕๕๓)*

     ในขณะที่กำลังดำเนินการก่อสร้างโบสถ์อยู่นั้น ก็มีการหล่อพระประธานในโบสถ์ขึ้น โดยมีเจ้าภาพหลักคือ นางอินทิรา เสนะเปรม พร้อมด้วยชาวบ้านร่วมกันหล่อในครั้งนั้น โดยชาวบ้านจะนำขันทองเหลืองบ้าง โตกทองเหลืองบ้าง ทัพพีทองเหลืองบ้าง สักกะบันลงหินบ้าง ถาดทองเหลืองบ้าง เข็มขัดนาคบาง บางคนมีทองคำมากเขาก็จะเอาทองคำมาหล่อพระ*(จากคำบอกเล่าของ โยม แจะ บุญแผน เมื่อวันที่ ๒ แม่ชี สัมฤทธิ์ เจริญคลัง และโยม สง่าอ่อนคลาย เมื่อวันที่ ๔ ม.ค. ๒๕๕๒)*และเศษทองที่เหลือจากการหล่อพระประธานในครั้งนั้นก็ได้นำมาหล่อพระปางมารวิชัยองค์หนึ่ง *(จากคำบอกเล่าของ โยม แจะ โยม กฤษณา บุญแผน เมื่อวันที่ ๒ และ แม่ชี สัมฤทธ์ เจริญคลัง เมื่อวันที่ ๔ ม.ค. ๒๕๕๓)*ในการหล่อพระครั้งนั้น นายสง่า อ่อนคลาย ผู้ใหญ่บ้านในขณะนั้น ได้ขอต้นมะหาดต้นใหญ่จากที่บ้านของแม่ชีสัมฤทธิ์ เพื่อนำไปทำฟืนในการเผาทองเหลืองหล่อพระ*(คำบอกเล่าของ โยม ธงชัย พวงลำเจียก เมื่อวันที่ ๔ ม.ค.๒๕๕๓)*

     เมื่อทำโบสถ์ใกล้เสร็จเมื่อประมาณปี ๒๕๒๓ มีนายทุนใหญ่เขามาขอเป็นเจ้าภาพในการสร้างเมรุทั้งหมด และอิฐตัวหนอนที่ปูรอบโบสถ์ในปัจจุบัน คือ นายจุน วนวิทย์ พร้อมด้วยภริยา คือ นางสุนทรี วนวิทย์  จากนั้น ก็เป็นเจ้าภาพในการก่อสร้างศาลาธรรมะสังเวช โดยเป็นเจ้าภาพเองทั้งหมด สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี ๒๕๓๒ ด้วยจำนวนเงินทั้งสิ้น ๒,๕๐๐,๐๐๐ บาทในสมัยนั้น*(จากคำบอกเล่าของ โยม สง่า อ่อนคลาย เมื่อวันที่ ๔ ม.ค. ๒๕๕๓)*

     เมื่อสร้างโบสถ์เสร็จ มีเงินเหลือ ประมาณปี ๒๕๒๕ หลวงพ่อก็ดำริ-ริเริ่มในการจะสร้างศาลาการเปรียญ*(จากคำบอกเล่าของของ โยม ภคิน ห้วยใหญ่ เมื่อวันที่ ๑ และ โยม สัมพันธ์ ศิริมาก เมื่อวันที่ ๙ ม.ค.๒๕๕๓)* เริ่มแรกหลวงพ่อได้ทำฐานเทปูน และดำเนินการก่อสร้างไปได้ประมาณ ๓ ปี ก็หยุดการก่อสร้างไว้ชั่วคราว แล้วหลวงพ่อก็ดำริ-ริเริ่มที่จะทำกุฏิแถว ๒ ชั้นต่อไป เมื่อประมาณ เดือนมิถุนายน ปี ๒๕๒๗ หลวงพ่อได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างกุฏิแถว ๒ ชั้น ทำจนแล้วเสร็จ จึงได้กลับมาสร้างศาลาการเปรียญที่ค้างอยู่เดิม ต่อไปจนกระทั่งประมาณปี ๒๕๓๓ จึงแล้วเสร็จ โดยได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านเป็นส่วนใหญ่ ในส่วนของหน้าบันไดศาลาการเปรียญนั้นได้เจ้าภาพหลักคือ นานจุน วนวิทย์ *(จากคำบอกเล่าของ โยม ภคิน ห้วยใหญ่ เมื่อวันที่ ๑ และ โยม สง่า อ่อนคลาย เมื่อวันที่ ๔ ม.ค. ๒๕๕๓)*

     เมื่อครั้งที่สร้างศาลาการเปรียญนั้น นายสง่า อ่อนคลาย ผู้ใหญ่บ้านในขณะนั้น ได้ไปขอต้นประดูที่ไร่ของ นายประเสริฐ เจริญคลัง หลายต้นเพื่อนำมาทำวงกบบานหน้าต่าง วงกบบานประตู*(จากคำบอกเล่าของ โยม สมเดช เจริญคลัง เมื่อวันที่ ๙ ม.ค. ๒๕๕๓)*

     ซุ้มประตูทางเข้าหน้าวัด สร้างเมื่อปี ๒๕๓๘ โดยมี คุณไพบูลย์ อนันตกูล เป็นเจ้าภาพในการก่อสร้าง*(จากหลักฐานที่ปรากฏ)* ด้วยจำนวนเงิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท*(จากคำบอกเล่าของ โยม สัมพันธ์ ศิริมาก เมื่อวันที่ ๙ ม.ค. ๒๕๕๓)*

จากนั้นหลวงพ่อก็ได้เริ่มสร้างกุฏิพระ โดมีเจ้าภาพหลักบ้าง จากเงินที่ชาวบ้านบริจาค

๑.      กุฏิ นายต๊อก-นางใช่ ปานแดง สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี ๒๕๓๙ *(จากหลักฐานที่ปรากฏ)*

๒.    กุฏิขวา สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี ๒๕๔๐ ด้วยเงินของชาวบ้านร่วมกันบริจาค *(จากคำบอกเล่าของ โยม สง่า อ่อนคลาย เมื่อวันที่ ๔ม.ค. ๒๕๕๓)*

๓.    กุฏิ นายแดง-นางวาด อุยวัน *(ไม่ปรากฏหลักฐาน)*

๔.    กุฏิโยม เล็ก จันทร์เพ็ญ*(ไม่ปรากฏหลักฐาน)* 

๕.    วิหารพระครูพิบูลชลธรรม  ได้รับเงินบริจาคจากชาวบ้านส่วนหนึ่ง*(ไม่ปรากฏหลักฐาน)*

     วิหารหลวงปู่ทอง สร้างเมื่อปี ๒๕๔๓ ด้วยจำนวนเงิน ๖๐๑,๓๓๕ บาทโดยประมาณ*(จากคำบอกเล่าของ โยม สัมพันธ์ ศิริมาก เมื่อวันที่ ๙ ม.ค. ๒๕๕๓)*

โรงครัวศาลาธรรมะสังเวช ปรากฏนามผู้เป็นเจ้าภาพหลักคือ คุณสะอิ้ง ศรีสมบูรณ์ คุณชิ้น

ศิริมาก พร้อมด้วยคณะ สร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๖ ด้วยจำนวนเงินทั้งสิ้น  ๘๑,๔๑๕ บาท*(จากหลักฐานที่ปรากฏ)*

     ห้องน้ำหลังศาลาธรรมะสังเวช สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี ๒๕๔๖ โดย มูลนิธิ นายเอ็ง

ศรีสมบูรณ์*(จากหลักฐานที่ปรากฏ)*

*หลวงพ่อจี๊ดได้มรณะภาพลง เมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๔๖*

กุฏิเจ้าอาวาส สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี ๒๕๔๗ โดยชาวบ้านร่วมกันบริจาครวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท*(จากคำบอกเล่าของ โยม ยุพา มิมะโน ผู้รับเหมา เมื่อวันที่ ๙ ม.ค.๒๕๕๓)*

     ห้องน้ำ คุณ เสน่ห์-วันดี เจริญคลัง  สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี ๒๕๔๘ ด้วยจำนวนเงินทั้งสิ้น ๓๐,๐๐๐ บาท*(จากคำบอกเล่าของ โยม เสน่ห์-วันดี เจริญคลัง และโยม ยุพา มิมะโน ผู้รับเหมา เมื่อวันที่ ๙ ม.ค. ๒๕๕๓)*

กุฏิ คุณ สัมฤทธิ์-อิสรางค์ เจริญคลัง สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี ๒๕๔๙ ด้วยจำนวนเงินทั้งสิ้น ๓๓๑,๐๐๐ บาท*(จากหลักฐานที่ปรากฏ)*

ศาลาตักบาตร สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี ๒๕๔๙ *(จากคำบอกเล่าของ โยม บำเพ็ญ เจริญคลัง และ โยม สัมพันธ์ ศิริมาก เมื่อวันที่ ๙ ม.ค. ๒๕๕๓)*

    โดยมีเจ้าร่วมกัน คือ

๑.     คุณ เพลิน-ทองหล่อ ศิริมาก จำนวนเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท

๒.    คุณ ตุ้ย ทับทิม                       จำนวนเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท

๓.    คุณ เสน่ห์-วันดี เจริญคลัง     จำนวนเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท*(จากหลักฐานที่ปรากฏ)*

ศาลาหน้าเมรุสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๙ โดยมีเจ้าภาพคือ

คุณประพัฒน์ ศิริมาก พร้อมคณะ ด้วยจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น ๖๓๐,๐๐๐ บาท*(จากหลักฐานที่ปรากฏ และ จากคำบอกเล่าของ โยม สัมพันธ์ ศิริมาก เมื่อวันที่ ๙ ม.ค. ๒๕๕๓)*

กุฏิแม่ย้อย เจริญคลัง สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี ๒๕๕๐ โดยใช้ไม้เก่าทำ *(จากคำบอกเล่าของ โยม ย้อย เจริญคลัง เมื่อวันที่ ๒ ม.ค. ๒๕๕๓)*

กุฏิโยมพิชัย ร่มเย็น สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี ๒๕๕๐ โดยมีเจ้าภาพคือ คุณ พิชัย-ฉะอ้อน ร่มเย็น และครอบครัว ใช้ไม้เก่าที่รื้อจากยุ้งข้าว*(จากคำบอกเล่าของ โยม พิชัย ร่มเย็น เมื่อวันที่ ๘ ม.ค. ๒๕๕๓)*

     กุฏิเจริญคลัง สร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๑ โดยมีเจ้าภาพคือ คุณ เตี๋ยว-ถนอม

คุณ เสน่ห์-วันดี คุณ ทะนงศักดิ์ เจริญคลัง ด้วยจำนวนเงินรวมทั้งสิน ๓๗๐,๐๐๐ บาท *(จากคำบอกเล่าของ โยม เสน่ห์-วันดี เจริญคลัง เมื่อวันที่ ๑ม.ค. ๒๕๕๓)*  

ศาลาบุญชื่น สร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๒ โดยมีเจ้าภาพคือ คุณ ไพศาล บุญชื่น และครอบครัว*(จากหลักฐานที่ปรากฏ)*   

     ห้องน้ำสงฆ์ สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี ๒๕๕๒ โดยมีเจ้าภาพคือ

๑.     วุฒิ-ศักดิ์ คลินิก

๒.    บริษัท ร็อกเก็ต ซาวด์

๓.    บริษัท ฮาบา-สเปค โลจิสติกส์(ประเทศไทยจำกัด)

๔.    และชาวบ้าน ด้วยจำนวนเงินทั้งสิ้น ๑๗๖,๙๒๑ บาท*(จากหลักฐานที่ปรากฏ)*

กุฏิพระกรรมฐานจำนวน ๔ กุฏิ พร้อมห้องน้ำรวม ๔ ห้อง สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี ๒๕๕๒

โดยได้รับเงินบริจาคจากชาวบ้าน เป็นเงินทั้งสิ้น ๖๓,๔๖๓ บาท*(จากหลักฐานที่ปรากฏ)*

 กุฏิมังกรแสงแก้ว สร้างแล้วเสร็จเมื่อ เดือนมกราคม ปี ๒๕๕๓ โดยมีเจ้าภาพคือ คุณ พยุง มังกรแสงแก้ว และคณะ ด้วยจำนวนเงินทั้งสิ้น ๓๖๐,๐๐๐ บาท*(จากคำบอกเล่าของ โยม ยุพา

มิมะโน ผู้รับเหมา เมื่อวันที่ ๙ ม.ค. ๒๕๕๓)

ประวัติวัดเทพบุตร ที่ปรากฏในหนังสือทำเนียบวัด และ พระสังฆาธิการ แห่งจังหวัดชลบุรี พุทธศักราช ๒๕๒๕

นามวัดที่ประชาชนนิยมเรียก   วัดบึงหรือวัดบน   หมู่ที่ ๖ ตำบลห้วยใหญ่   อำเภอบางละมุง   จังหวัดชลบุรี  วัดนี้เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๔  ซึ่งมี นายพรม  เกตุจรูญ  ตำบลบึง    อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี   เป็นผู้มอบที่ดินถวายสร้างวัด ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕  ได้รับอนุญาตให้ตั้งวัด   เมื่อวันที่ ๑๙  เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ เนื้อที่ที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมากว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร

ปัจจุบันวัดนี้มีเนื้อที่ตั้งวัดทั้งหมด ๒๕ ไร่ ๒ งาน ๔๑ ตารางวา (เป็นที่ดินมีโฉนด)

ลำดับเจ้าอาวาสตั้งแต่อดีต ถึง ปัจจุบัน

๑.พระอธิการทอง                    ชิตฺเสโน                       ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๔ – พ.ศ.๒๔๙๙

๒.พระครูพิบูลชลธรรม          จนฺทโก                        ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๙ – พ.ศ.๒๕๔๖

๓.พระมหาสมโภชน์               กุสลจิตฺโต                   ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๖ – พ.ศ.๒๕๕๐

๔.พระครูสังฆรักษ์ชัยวัตร      อาภาธโร                      ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๐ – ปัจจุบัน

แผนที่วัด

โครงการประจำปี

กิจกรรมปฎิบัติธรรมประจำปี

ณ วัดเทพบุตร

๑.พิธีพระพฤติวุธฐานวิธี (ปริวาสกรรม) ทุกวันที่ ๑ มิถุนายน ๑๙ ธันวาคม ของทุกปี

๒.บวชเนกขัมมะ  ทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ตลอดปี

๓.บวชเนกขัมมะประจำปี วันที่ ๑๒ สิงหาคม ทุกปี

๔.เปิดอบรมปฎิบัติธรรม  บวชเนกขัมมะสำหรับนักเรียน นักศึกษา ตลอดปี

๕.ปฎิบัติธรรมภาคค่ำ  ตั้งแต่เวลา ๑๙.๐๐ – ๒๑.๐๐น. ทุกวัน

ข้อวัตรสำหับผู้มาปฎิบัติ

ณ. วัดเทพบุตร

เวลา  ๐๔.๓๐ น. ทำวัตรเช้า ปฎิบัติธรรม

เวลา  ๐๘.๓๐ น. เจริญเมตตาภาวนา

เวลา  ๑๔.๐๐ น. เดินจงกรม

เวลา  ๑๖.๐๐ น. ทำความสะอาดลานธรรม ลานวัด

เวลา  ๑๙.๐๐ น. ทำวัตรเย็น ปฎิบัติธรรม,สนทนาธรรม,ตอบปัญหาธรรม